http://www.threebond-479.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 ผลิตภัณฑ์

 ข่าวสาร

 ติดต่อเรา

 ประวัติ

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ07/09/2008
อัพเดท22/03/2022
ผู้เข้าชม636,970
เปิดเพจ862,253
สินค้าทั้งหมด77

สินค้า

สาระน่ารู้

ปฎิทิน

« October 2024»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

วิธีราดสารลำไย

วิธีราดสารลำไย


การราดสารลำไย หรือใส่สารลำไยทำอย่างไร..?
การราดสารมีอยู่หลายวิธีการ และได้ผลสรุปที่ต่างกัน ในพื้นที่ปลูก ที่แตกต่างกัน เช่น
* พื้นที่ปลูก มีความลาดเอียง
* รอบต้นที่ปลูก มีคอกกั้นน้ำล้อมรอบ
* ปลูกเป็นเนิน ขอบทรงพุ่มต่างระดับ จากการเช็ทตัวของดิน และดินที่อุ้มน้ำมีความแตกต่าง
* ระบบน้ำ และการจัดการ จากเริ่มต้น ดูแลการติดผล จนถึงดูแล หลังเก็บเกี่ยว ผลผลิต.
( ห่วงโซ่ ของปัจจัยการผลิตลำไย )
Θ อัพเดต วิธีราดสาร รวมถึง การใช้สารฉีดพ่น เสริมประสิทธิภาพทางใบ ที่ร้อนแรง ในปัจจุบัน

การเตรียมต้น สำหรับการราดสาร เป็นสิ่งสำคัญ
ความสมบูรณ์ของต้นลำไย เป็นตัวชี้วัด ในการออกดอกของลำไย รวมถึงช่อดอก ที่มีความสมบูณณ์ กระทั้งติดผลสุดท้ายจนการเก็บเกี่ยว สารราดลำไย ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ที่ทำให้เป็นได้ดั่งที่คลาดไว้ หากท่านไม่สามารถเตรียมความพร้อมที่ดีแล้ว
นี่คือ ส่วนหนึ่งในหลายๆ วิธีการ ที่อัพเดตล่าสุด ของการราดสารในปัจุบัน
* การเตรียมต้น สำคัญ รอบบริเวณที่ราดสาร
* การเตรียมต้น กับความสมบูรณ์ของต้นลำไย แตกใบตามที่กำหนดหรือไม่ หรือลักษณะใบ กับความพร้อมที่จะราดสาร
* บริเวณทรงพุ่มแห้งดีไหม เวลาราดสารแล้ว มีการดูดชับเร็ว
* ระบบรากที่มีความหนาแน่น รอบทรงพุ่ม มากน้อยแค่ไหน หากราดสารไปแล้ว ถูกดูดนำไปเตรียมความพร้อมได้เร็ว
* มีการกำจัดหรือป้องกัน โรค แมลง วัชพืช หรือศัตรูลำไย ล่วงหน้า ราดสารแทงช่อแล้ว จะไม่ทำไห้ช่อดอกเสียหาย
* ใช้สารราดแข็งแกร่ง และใช้ราดในปริมาณมากพอ ที่จะทำให้ไม่ผิดหวัง
* อื่นๆ


ที่ปฎิบัติกัน กับวิธีการ ราดสารลำไย แบบต่างๆ


วิธีการที่ 1 ใช้สารโปรแตสเชียมผสมในน้ำ 200 ลิตร ( ปริมาณ แล้วแต่ไม่ทราบแน่นอน /** หรือหาค่าคำนวนจาก ต้นที่ต้องการราดสาร เช่น 10 ต้น ใช้สาร 5 กิโลกรัม / น้ำ 200 ลิตร - พ่นทางดิน ค่าการใช้ 20 ลิตร ต่อต้น - ได้ 10 ต้นพอดี ประมาณนี้.) ผสมแล้วใช้เครื่องฉีดพ่นลงดินทรงพุ่ม ที่เตรียมเรียบร้อยแล้วให้ทั่ว โดยการให้น้ำล่วงหน้าก่อนแล้วพอเปียกชุ่ม – หลังจากนี้ให้น้ำพอชุ่ม อย่างสม่ำเสมอ รอบ 21 วัน.
(เทคนิคการใช้เป็นคู่บัดดี้ {คู่หู} ทำให้สาร ถูกดูดชับดี และทำให้สารมีประสิทธิภาพ ผสม ปุ๋ยเกร็ด { NPK=13-0-46 } ตามไปด้วย ปฎิมาณที่เหมาะสม 2- 3 ขีดต่อต้น เมื่อแทงช่อแล้ว ช่อดอกอ้วนสมบูรณ์ / การใช้ให้คำนวน ตามต้นลำไยที่ราด )
*(หมายเหตุ ส่วนจะฉีดพ่นทางใบ หรือเปล่านั้นแล้วแต่ละท่าน / หากฉีด หลังราดสาร 5 –7 วัน พ่น 1-2 ครั้ง ฉีดพ่น 2 ครั้ง ฉีดพ่นกระตุ้น เพื่อให้ แทงช่อดอกพร้อมกัน สม่ำเสมอ ส่งผลดีช่วงการเก็บเกี่ยว ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน)

วิธีการที่ 2 ราดสารทางดิน โดยการผสมสารโปรแตสเชียม กับน้ำในบัวรดน้ำ ตามอัตรา ที่ต้องการใช้ ราดรอบทรงพุ่ม ที่เตรียมโคนต้นเรียบร้อยแล้ว – หลังจากนี้ให้น้ำพอชุ่มอย่างสม่ำเสมอ.
(เทคนิคการใช้เป็นคู่บัดดี้ {คู่หู}
ผสม ปุ๋ยเกร็ด { NPK=13-0-46 } ตามไปด้วย ปฎิมาณที่เหมาะสม 2- 3 ขีดต่อต้น )
*(หมายเหตุ ฉีดพ่นทางใบ ตามวิธีการที่ 1)

วิธีการที่ 3 โปรยสารราดลำไย ราดลำไยในทรงพุ่ม แล้วให้น้ำโดยสปริงเกอร์ หรือราดน้ำตามให้สารละลาย ระวัง..! อย่าให้น้ำมาก หากสารละลายไม่หมด ไม่เป็นไร รอให้น้ำครั้งค่อไป หลังจากนี้ ให้น้ำพอชุ่ม อย่างสม่ำเสมอ.
(เทคนิคการใช้เป็นคู่บัดดี้
{คู่หู} ผสม ปุ๋ยเกร็ด { NPK=13-0-46 } ตามไปด้วย ปฎิมาณที่เหมาะสม 2- 3 ขีดต่อต้น )
*(หมายเหตุ ฉีดพ่นทางใบ ตามวิธีการที่ 1)

พ่นสารทางใบ

กรณีดินเปียก ไม่สามารถบังคับทางดินได้ /หรือมีน้ำน้อย ราดทางดิน ไม่สามารถให้น้ำสม่ำเสมอได้ /ต้องการพ่นอย่างเดียว


    วิธีการที่ 4 วิธีฉีดพ่นทางใบอย่างเดียว โดยไม่ราดสารทางดิน ต้นลำไย ต้องสมบูรณ์ก่อน ไม่น้อยไปกว่า 75 – 95 เปอร์เช็นต์ และจังหวะใบที่พร้อม ในการที่จะฉีดพ่นด้วย ต้องเขียวพร้อมเต็มที่ ใบไม่ควรอ่อนจนเกินไป หรือแตกใบอ่อนแชม บ่งบอกถึงความไม่พร้อม หากสีของใบเขียวเข้มสมบูรณ์จะได้ผลดี ( โดยเฉพาะในฤดูกาลได้ผลดีมาก )
    »» ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง นอกฤดูกาล
    »» ในฤดูกาล ฉีดพ่น 2 ครั้ง
    ฉีดพ่นกระตุ้น เพื่อให้ แทงช่อดอกพร้อมกัน สม่ำเสมอ
    ผสมรวม ปุ๋ยเกร็ด { NPK=13-0-46 }
    หรือปุ๋ยเกร็ด { NPK= 10-52-17 } สูตรฟอสเฟตสูง พืชที่ต้องการเร่ง และเสริมสร้างตาดอก มากกว่าสูตรเร่งดอกปกติ ตามไปด้วย 300 - 500 กรัม / 200 ลิตร ) ข้อควรเลียกเลื่ยงการฉีดพ่น : ไม่ควรพ่นตอนฟ้าปิด ครื้มฟ้าครื้มฝน / ไม่มีแสงแดด /ใบเปียกน้ำค้างช่วงเช้ามืด /หรืออากาศร้อน ช่วงบ่ายๆที่ร้อนจัด หรือ ลมพัดแรง ( ควรฉีดพ่นทั่วปลายยอด ให้ทั่ว)
    วิธีการพ่นนี้ ในฤดูกาล นิยมใช้ทำกันอย่างแพร่หลาย ลดขั้นตอน และประหยัดต้นทุน หมดกังวลเรื่องการเตรียมต้น


วิธีการที่แน่นอน และเป็นหลักประกัน การราดสารลำไยให้ได้ผลดี ทำตามขั้นตอน ผนวกกับการเตรียมความพร้อม เพราะขั้นตอนการราดสาร หรือฉีดพ่นสาร เป็นสิ่งสำคัญขั้นตอนหนึ่ง ที่เราท่านควรทราบ และนำไปประยุกต์ตามแบบของแต่ละที่ พื้นที่ในการปลูกที่ต่างกัน มันต้องประยุกต์ เปลี่ยนตามแบบ วิธีการได้ด้วย.
ราดสารทางดิน แล้วพ่นทางใบ
ใส่สารลำไย

ที่แนะนำ ราดสารทางดิน แล้วพ่นทางใบ 2 ครั้ง จากผลสรุปของหลายๆท่าน เจ้าของสวนที่ผู้เขียนสัมผัสมา และได้รับคำแนะนำ รวมถึงผลสัมฤทธิ์ จากท่านเจ้าของสวนเหล่านั้น
****ดูตามภาพต่อไปนี้แล้วแต่ท่านจะนำไปประยุกต์ใช้กัน



ท่านสามารถเลือกราดสาร ระดับไหนก็ได้ ในการใส่สารครั้งแรก ระบบรากยังสมบูรณ์
หากราดสารทุกปี ให้ทำการเช็ค ความสมบูรณ์ ความหนาแน่นของราก ราดบริเวณที่มีความหนาแน่นของรากฝอย หากซ้ำตรงจุดราดสารเดิมที่ราดครั้งก่อน ให้ทำการย้ายจุดราดสาร จะเป็นการดี การย้ายจุดราดที่ซ้ำจะเป็นการพัก เพื่อปีถัดไปจะได้ราด สลับกันไป.

ทำไม..? เราถึงต้องจัดระดับการราดสาร เหตุผล หากท่านราดสารบริเวณที่ 2 ช่วงหน้าฝนๆ ตกมากสารจะกระจายออกข้างนอก หรือเข้าด้านในโดยการนำพาของน้ำฝน อีกอย่างหากดินเช็ทตัวเร็ว ทำให้ดินแห้งผากรากฝอยเสียหาย รากบริเวณที่1 และที่ 3 ก็สามารถเดินมาดูดสารได้ จากการให้น้ำครั้งต่อไป
หากท่านราดสารบริเวณที่ 3 ด้านนอกปลายทรงพุ่ม เข้ามา ท่านต้องให้น้ำพอดี มิเช่นนั้นหากน้ำมากไป การนำพาสารออกนอกทรงพุ่มก็มีมากตาม ความจำเป็น เนื่องจากสาเหตุ การราดสารทุกปีติดต่อกัน.



วิธีให้น้ำ ราดครั้งแรกให้น้ำพอชุ่ม หลัง 2 หรือ3 วัน ระวังอย่าให้ดินแห้งเกินไป ถ้าแห้งมาก รากฝอยที่ลอย ติดผิวดิน หรือลึกลงไปจะถูกทำลาย การดูดซับจะไม่มีประสิทธิภาพ หลังจากนั้น ให้น้ำพอชุ่มตามลำดับ ห่าง 2 - 3 วัน ในรอบ 21 วัน ดูแลเรื่องน้ำให้ดี ให้มีการดูดกิน สารโพแทสเชียม ไปเตรียมความพร้อมได้สมบูรณ์ ให้น้ำพอดี ชุ่ม อย่าให้แฉะ
*ให้น้ำปกติ ครบ 35 - 40 วันดอกลำไยเห็นพร้อมกันแล้ว ให้เพิ่มน้ำทีละน้อย
หมายเหตุ กรณีใช้สารพ่นทางใบ หลังราดสาร 5 -7 วันทำการฉีดพ่นสารทางใบ ครั้งที่1 และฉีดพ่นครั้งที่ 2 ห่าง 10-14 วัน ฉีดละอองฝอยทั่วทรงพุ่ม

การราดสารใน ช่วงฤดูฝน ควรใช้สารพ่นทางใบ ช่วย หากเกิดฝนตกหนักการชะล้าง ของน้ำมีมาก อีกทั้ง ปริมาณน้ำฝนที่ตก ดินเปียกมาก สารมีความเจือจางสูง ความเข้มข้นย่อมต่ำลง อีกทั้ง ฝนนำพาชึ่งไนโตรเจน ทำให้ท่านที่ราดสารช่วงหน้าฝน ลำไยมีการแตกใบอ่อน ค่อนข้างมาก; อีกทั้งช่วงฤดูฝน ท้องฟ้าอากาศ มีแสงไม่แน่นอน ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้ มีการหยืดเวลา ถอยวันเวลาออกไป แถมส่งผลต่อดิน ในการเช็ทตัวให้แห้งช้า ตามไปด้วย.

    การราดสาร หรือใส่สารลำไยม่มีสิ่งตายตัว ท่านสามารถนำบางส่วน ไปทำการพลิกแพงได้ ตามแต่ท่าน ทางเราเพียงนำส่วนหนึ่งที่แนะนำ วิธีการจากหลายๆท่าน ที่เป็นเจ้าของสวนได้แนะนำมา แบ่งปัน การที่จะให้ลำไยออกดอก หรือไม่นั้นสารราดที่ท่านใช้ เป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในการบังคับในขั้นตอนนี้ ดังนั้นท่านควรเลือกสรรให้ดี .

อนึ่ง..! หลายๆความกังวน ในการใช้สาร ของท่านเจ้าของสวน ที่กังวนต่อการใช้สารว่า จะมีผลให้ลำไยโทรม หรือตาย ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี เกิดกรณีตายน้อยมาก หากไม่เกิดปัญหา ราดสารแล้วน้ำท่วมขัง จะไม่ตายแน่นอน ส่วนที่โทรมเกิดจากการ ไม่เป็นเมืออาชีพของแต่และเจ้าของสวนเอง ที่พอหลังเก็บเกี่ยวแล้วไม่บำรุงต้น ให้คืนความสมบูรณ์ บ่อยตามธรรมชาติ ให้ฟ้าให้ฝน รดน้ำให้ อีกทั้งให้ต้นไม้หากินเองโดยไม่ให้ปุ๋ยฉีดยา พอถึงฤดูกาลก็ทำการบังคับ ให้ออกดอก เป็นการทำลายต้นลำไย หรือฆ่าโดยอ้อมมากกว่า

การแก้ปัญหาสารราดตกค้าง ในทรงพุ่มลำไย วิธีที่ง่ายที่สุด คือหลังลำไยช่อเต็มที่แล้ว ( ส่วนวิธีที่ดีที่สุด คือ ให้ติดผลแน่นอน และแข็งแรงดีแล้ว ) ให้น้ำมากๆ ให้ดินชุ่มชื้นลึกที่สุด เป็นการนำพาสารที่ตกค้างซึม ผ่านลึกลงใต้ดิน หลังจากนั้นจุลินทรีย์ จะทำการย่อยสลายโพแตสเชียมที่ตกค้าง ระดับที่เป็นพิษ ให้กลายเป็นปุ๋ย (K ) ให้ลำไย ดูดชับกิน ไปใช้งานต่อไป
หรือใช้ปุ๋ยหมัก จุลรินทรีย์ อีเอ็ม หรือ โมราส กากน้ำตาล / หรือกากยาสูบ การจัดการห่วงโซ่ การผลิตลำใย ไม่ว่าลำไยในฤดู / ลำไยนอกฤดู
ท่านพร้อมหรือยัง..? ที่จะเป็นมืออาชีพ หลังจาก ปี 2558 เราเป็นส่วนหนึ่ง ที่สำคัญ ศูนย์กลางอาเชี่ยน + 3 ( อินเดีย - จีน - ญี่ปุ่น ) โอกาสความมั่งคั่ง จะตามมาหาเรา ถึงเวลาเราท่าน ต้องเปลี่ยนตัวเอง หันมาผลิตลำไยให้มีคุณภาพ จะคอยผลิตลำไย เกรดคละ รวมขนาดลูกลำไย 123 ( AA -A -B )ไม่ได้แล้ว จีนเองเป็นตลาดใหญ่ และกำลังมั่งคั่ง ด้วยอีกทั้ง กำลังซื้อมีมาก และเขากำลังร่ำรวย พวกเขาได้หันมา บริโภคลำไยเกรดมากขั้น เราท่านเองอยู่ใน ห่วงโซ่ของการผลิตลำไย คงมองถึงจุด สำคัญนี้
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากการที่ ไทยเปิดเสรีการค้า จะทำให้เราท่าน ที่เป็นผู้ผลิต จะใช้เป็นจุดแข็ง ในการกระจายสินค้า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องราคา อีกทั้ง การขายสินเกษตรล่วงหน้า จะส่งผลดีต่อชาวสวน อย่างยั้งยืน.

อ้างอิงมาจาก : http://potassiumchlorate.blogspot.com/p/blog-page_11.html

view

สินค้า

view